วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550

การนำเสนอ

การนำเสนอ ต้องมีอยู่เรื่อยๆ เพื่อทำให้คนอื่นเข้าใจการทำงานของเรา และได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เทคนิคต่อไปนี้ลอกมาจากของคุณ mk แทบจะทั้งดุ้น เพราะรู้สึกว่าเขียนได้ีละเอียดดี แถมเราก็เห็นด้วยกับหลายๆ เรื่อง

  • สไลด์: จุดประสงค์ของสไลด์หรือพรีเซนเตชัน ก็คือการบอกว่า
    เรื่องนี้คืออะไร (จำกัดความ) มีความน่าสนใจแค่ไหน
    (เปรียบเทียบกับคู่แข่งหรือตัวอื่นๆ) และถ้าสนใจเพิ่มเติม
    สามารถหาข้อมูลได้แถวไหน (เว็บลิงก์ หรือคีย์เวิร์ดสำคัญ
    ให้คนไปกูเกิลได้) เท่านั้น ซึ่งมีคนจำนวนมากคิดว่ามันคือ Text Document
    ที่ดันอยู่ในแนวนอน แล้วก็พยายามก็อปเอกสารทั้งหน้า
    หรือข้อความเป็นพรืดใส่ลงไป
  • ที่คิดไว้ในใจ
    สไลด์หน้านึงยาวได้แค่ 8 บรรทัดเท่านั้น นั่นหมายถึง Bullet 4 อันต่อหน้า
    (พร้อมคำอธิบาย Bullet ละบรรทัด) ความยาวนั้นไม่ตายตัว แต่เรื่องทั่วๆ
    ไปก็ไม่น่าจะเกิน 20 แผ่นโดยประมาณ
    ถ้ายาวกว่านั้นแสดงว่าคุณมีปัญหาในการย่อใจความสำคัญแล้ว

  • ผมให้ความสำคัญกับหน้าตาของสไลด์ค่อนข้างมาก
    ถึงทุกคนจะไม่สามารถ"ทำ"สไลด์ให้สวยเท่ากันได้
    แต่ทุกคนสามารถ"มี"สไดล์ที่สวยเหมือนกันได้

  • ตาราง ชาร์ตต่างๆ
    สามารถแต่งให้มันดูดีได้ ห้ามมีตารางแบบที่เป็นสาวออฟฟิศหัดเล่น PPT
    หรือฟอนต์สีรุ้งที่พวกข้าราชการชอบทำใน Word Art โผล่มาเด็ดขาด

  • สิ่งที่ต้องมี
    คือ ชื่อสไลด์, โอกาสที่มาพรีเซนต์พร้อมลงวันที่,
    ชื่อคนเขียนพร้อมเมลที่ติดต่อได้, ไลเซนส์ของสไลด์ (ไม่แน่ใจว่า Creative
    Commons จะเหมาะกับงานเอกสารภายในรึเปล่า) ที่สำคัญคือก่อนคุณพูด
    คุณต้องมี Archive ของสไลด์นั้นเก็บไว้บนเว็บก่อนพูดเสมอ เพื่อว่าลูกค้า
    (หรือผู้ที่สนใจ) จะได้ไม่ต้องมาถามถึงอยู่ตลอดว่ามีสไลด์ให้โหลดมั้ย
    การทำ Archive อาจเป็นของรวมของบริษัทที่เป็นเรื่องเป็นราว แยกคนเขียน
    แยกวันเวลาชัดเจน
  • สิ่งที่ไม่ควรมีคือหน้า Question? ในแผ่นสุดท้าย

  • บุคคลิกในการพรีเซนต์เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเกลา
    บางคนจะมีคำพูดเกะกะที่ติดปากเวลาตื่นเต้น เช่น ก็ นะครับ ดังนั้น etc.
    ต้องคอยสังเกตและปรับปรุงตอนเทรน
  • ผมแนะนำให้ยืนพรีเซนต์ดีกว่านั่งพรีเซนต์
    มันดู Active กว่า และสามารถเล่นท่าทางได้มากกว่า
    แต่ต้องระวังเคสการยืนบังสไลด์ตัวเองในห้องเล็กๆ และลีลาท่าทางในการยืนด้วย
  • ออกจะลำเอียงไปเล็กน้อย
    แต่ว่าเอกสารนำเสนอไม่ค่อยมีบทบาทในการแลกเปลี่ยนไฟล์เท่า Text Document
    ดังนั้นเราควรจะทำเป็น OpenDocument ให้หมด (พร้อมเวอร์ชัน PDF)
  • อีกอย่างที่สำคัญคือหน้าจอ
    Notebook ของผู้พูดต้องดูอินเตอร์ด้วย ถ้าเอาขึ้นจอใหญ่ดันมีโปรแกรมไม่มี
    License หรือไฟล์หนังโป๊โผล่มานี่คงอายตาย

  • เอฟเฟคนี่ไม่ควรใส่มาก ถ้าเป็นไปได้ไม่น่าจะใส่มาเลย ถ้ากลัวคนฟังง่วง น่าจะใช้เทคนิคอื่น มาเล่นกับคนฟังแทน (ผมเพิ่มเอง)
  • กฎ 10-20-30 ของ Guy Kawasaki (สไลด์ไม่เกิน 10 หน้า ใช้เวลานำเสนอไม่เกิน 20 นาที ขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่า 30) ก็น่าจะเอามาใช้เวลานำเสนอแนวความคิดการทำงานแบบใหม่ๆ ให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล

แนะนำอ่านเพิ่มเติมที่ Presentation Zen



วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2550

Electronic Medical Records for Pharmcare

Electronic Medical Records หรือเวชระเบียนแบบอิเล็คโทรนิค ตอนนี้โรงพยาบาลศูนย์ ทั่วไปก็มีใช้กันเกือบหมดแล้ว โรงพยาบาลชุมชนก็ใช้กันเยอะแล้วเหมือนกัน โดยทุกโรงพยาบาลจะยังใช้คู่กับเวชระเบียนแบบเดิมที่เป็นแฟ้มอยู่



โจทย์คือเราจะเอาข้อมูลตรงนี้มาใช้ประโยชน์กับงานบริบาลเภสัชกรรมอย่างไร



ที่คิดไว้คือ จัดเก็บข้อมูลแยกเป็นอีกฐานข้อมูลหนึ่ง โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้เป็นประโยชน์มากที่สุด แล้วค่อยซักเพิ่มเติมส่วนที่ไม่ค่อยเจอในเวชระเบียนเช่น

  • ยาอื่นที่ไม่ได้รับจากโรงพยาบาล สมุนไพร อาหารเสริมที่รับประทานอยู่
  • การดำเนินชีวิต การออกกำลังกาย การประกอบอาชีพที่ส่งผลต่อโรคที่เป็น และการรักษา (อันนี้สำคัญ และซักยากที่สุด)
  • การรับประทานยาตามสั่ง (compliance) อยากได้เป็นเปอร์เซ็นต์เลยว่า เดือนนี้ทานยาตามสั่งได้กี่เปอร์เซ็นต์ จะได้ดูแนวโน้มการดื้อยา และรักษาหายได้
  • ประวัติการใช้ยาแบบละเอียดจริงๆ อันนี้คงทำได้ง่ายกับคนไข้ใหม่ แต่คนไข้เก่าต้องตามข้อมูลกันเหนื่อยหน่อย
  • ลักษณะนิสัยเฉพาะตัวของคนไข้ อันนี้ไม่แน่ใจว่าจะเก็บไว้ในฐานข้อมูลดีมั้ย เพราะมันค่อนข้างจะอ่อนไหว แต่ถ้าใช้วิธีจำเอา จะลำบากในการส่งต่องานให้คนอื่น

นอกจากนี้ อยากจะคืนข้อมูลพวกนี้กลับไปให้เวชระเบียนเหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าเค้าจะอยากได้หรือเปล่านะสิ



ส่วนนี้เป็นลิ้งค์ที่อาจได้ใช้ประโยชน์



MirrorMed - F/OSS EMR ที่เขียนด้วย PHP

EHRs Fix Everything - and Nine Other Myths - ประโยชน์ของการเอา EMR มาใ้ช้

Clinical Cases and Images - Blog - บล็อกที่พูดถึงเรื่อง EMR





การใช้ภาษาอังกฤษในการจ่ายยา

อันนี้ไปเห็นเพื่อนเขียน เลยจดเก็บไว้ใช้



การทักทายผู้ป่วย



  • แบบทางการ Good morning, Good afternoon
  • แบบไม่เป็นทางการ Hi, Hello
ต่อจากนั้นถามถึงสาเหตุการมาร้านยาเช่น



  • How can I help you today?
  • What can I do for you today?
  • What happening?
  • What going on?


พอกล่าวคำทักทายเสร็จแล้ว ก็ต้องถามเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของคนไข้เช่น มีอาการตั้งแต่เมื่อไหร่ อาการเป็นยังไงบ้าง เคยเป็นมาก่อนหรือไม่ ได้ไปหาหมอหรือซื้อยามาทานแล้วหรือยัง รักษาแล้วเป็นยังไงบ้าง มีสิ่งใดที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง เช่น

  • Tell me how you are feeling?
  • Tell me about symtoms?
  • When did it start?
  • How long have you had this symptom?
  • How often do you have this symptom?
  • Are you having any................?
  • Did anything make you feel better/worse with your.........?

นอกจากนี้อาจถามเกี่ยวกับความรุนแรง ลักษณะการเจ็บป่วย เช่นลักษณะของผื่นเป็นอย่างไร ถ้าท้องเสียก็ถามลักษณะอุจจาระอะไรว่าเป็นอย่างไร ถ้าเป็นหวัดก็ถามว่ามีน้ำมูกสีอะไร มีมากมั้ย เป็นต้น

start

บล็อกนี้สร้างขึ้นเพื่อรวบรวม แนวคิด เทคนิคต่างๆ ในการพัฒนางานบริบาลเภสัชกรรม ในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล หรือร้านยา โดยจุดมุ่งหมายหลักคือ ทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ดี และปลอดภัย